แบ่งงวดงาน”สร้างบ้านยังไง ? ให้เหมาะสม

… “ เงินไม่เกินงาน “ คำนี้อาจจะเคยได้ยินหลายๆคนคอยย้ำเสมอในการก่อสร้างบ้าน

ว่าเงินหรืองวดงานที่จะต้องจ่ายให้กับผู้รับเหมา ไม่ควรเกินกว่ามูลค่างานจริงที่ทำได้

เพราะจะทำให้ผู้รับเหมามีอำนาจการต่อรองมากเกินไป หรือหนักๆถึงขั้นจะทิ้งงานเอาได้ในบางที

 

… คำถามคือว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงกันละ ว่าแต่ละงานมันมีมูลค่าเท่าไหร่?

ขั้นตอนง่ายๆในการแบ่งงวดงานหรือตรวจสอบงวดงานว่าเหมาะสมกับงานที่ทำจริงหรือไม่ ดังนี้

 


 

1.)แยกรายละเอียดการเสนองานให้ชัดเจน

… เนื่องจากจะต้องแบ่งงวดงานตามมูลค่าของงานที่แล้วเสร็จ

..ทีนี้ ในใบเสนอราคาหรือ BOQ ก็ควรจะต้องแยกได้ว่าส่วนงานนั้นๆ ในแต่ละงวดงานเมื่อรวมออกมาแล้วจะเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งการทำ BOQ ควรแยกหมวดงานให้ไกล้เคียงกับรายการในการแบ่งงวดด้วย เพื่อง่ายในการตรวจสอบและอ้างอิง

เช่น ในงวดงานมีการเบิกจ่ายงานเป็นชั้น1และชั้น2 ในงานโครงสร้าง ในBOQก็ควรจะแยกเป็นโครงสร้างของชั้น1และชั้น2ด้วย

ไม่ควรแยกเป็น งานคาน พื้น เสา โดยที่ไม่แยกเป็นชั้น1และชั้น2 (ถ้า BOQ แบ่งงานหรือหมวดงานแบบไหน ควรแบ่งงวดงานอิงตามงานหรือหมวดงานนั้นๆ)

 


 

2.)มีแผนงานก่อสร้างชัดเจน

… ในการทำงานก่อสร้างโดยปกติ ยิ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนของแบบก่อสร้างมาก ยิ่งควรมีแผนงานที่ชัดเจนเป็นแนวทางในการทำงาน หรือเตรียมงานล่วงหน้าทั้งการสั่งของ เตรียมแบบก่อสร้าง

และข้อดีสำคัญในการมีแผนงานที่ชัดเจนคือ การวางแผนการเงินทั้งผู้รับเหมา และเจ้าของบ้าน

โดยอย่างน้อยต้องกำหนดเป็นรายสัปดาห์ว่างานอะไรจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ไหนของโครงการบ้าง…

 

 


 

3.)แยกรายจ่ายประจำ

… ในBOQจะมีค่าดำเนินการ ค่าโสหุ้ยต่างๆ เช่น ค่าที่พักคนงาน ค่าดำเนินการ กำไร ค่าเขียนแบบ เป็นต้น

โดยที่บางทีไม่รู้ว่ามันจะเป็นหมวดงานไหนและจะเบิกจ่ายยังไง

..ในส่วนนี้ถ้าไม่ได้มีการเจาะจงชัดเจนให้หารเฉลี่ยตามวันทั้งหมดของโครงการ และเสมือนว่ามันเกิดขึ้นเท่าๆกันตลอดทั้งโครงการ

แต่ถ้ามีการเจาะจงส่วนงานที่จะเกิดเช่น งานนั่งร้านสำหรับงานทาสี หรือค่าเครื่องจักรในงานโครงสร้าง ก็ควรกำหนดรายจ่ายให้สอดคล้องกับส่วนงานที่เกิดขึ้นด้วย

 

ตัวอย่างการแยกค่าใช้จ่ายประจำ

 


 

4.)เบิกเงินล่วงหน้า

… เบิกล่วงหน้า หรือจะเรียกว่างวดมัดจำ

ตามหลักการคือเป็นหลักค้ำประกันในการว่าจ้างของเจ้าของบ้านกับผู้รับเหมา .

..ทีนี้ ในส่วนของเงินเบิกล่วงหน้าก็จะเป็นเงินที่จ่ายไปเกินกว่างานนะสิ?

… คำตอบคือ”ใช่” เกินกว่างาน จึงต้องมีการประเมินการเบิกล่วงหน้าให้ดี ไม่ให้มากเกินไป (ไม่ควรเกิน20%) และควรมีค้ำประกันบางอย่างเพื่อให้แน่ใจได้ว่าหลักเบิกล่วงหน้าแล้วจะไม่เกิดการหนีหาย หรือทิ้งงาน

..ส่วนของเงินเบิกล่วงหน้า อาจจะไม่ระบุเป็นงวดงานตรงๆ แต่จะเป็นการทอนคืนในแต่ละงวดโดยหักเป็น % (%เท่ากับเงินเบิกล่วงหน้ากับมูลค่างานทั้งหมด) ออกจากมูลค่างานในแต่ละงวดนั้นๆ


 

หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้เลยนะครับ

 


 

5.)แบ่งงวดงาน โดยอิงตามแผนงาน

… แนะนำให้ประเมิณการแบ่งงวดงานออกเป็นเดือน (ผู้รับเหมาจะมีรายจ่ายประจำเป็นรายเดือนหลายรายการ)

โดยการรวมมูลค่างานที่จะเกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ของแต่ละงาน รวมกันทุกๆงาน ในแต่ละช่วงที่เราต้องการแบ่งงวด

..และสำคัญ ต้องอย่าลืมหักคืนส่วนที่เบิกล่วงหน้าด้วย

 

 

 


 

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

วิศวกร มีประสบการณ์ด้านงานก่อสร้างบ้านพักศัย ..และเคยทำในทุกตำแหน่งของกระบวนการสร้างบ้าน ทั้งผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมงานก่อสร้าง